ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
1.จอภาพ (Monitor)
จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลผลลัพธ์ (Output) มีรูปร่างลักษณะคล้ายเครื่องรับโทรทัศน์
สามารถแสดง ผลได้ทั้งตัวหนังสือ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1.จอซีอาร์ที
(CRT : Cathode Ray Tube) 2.จอแอลซีดี (LCD : Liquid
Crystal Display)
2.เมาส์ (Mouse)
เมาส์ (Mouse) จะเป็นอุปกรณ์ที่ให้ความรู้สึกที่ดีต่อการใช้งาน
ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนจอภาพ
หรือเรียกง่ายๆ ว่าตัวชี้ตำแหน่งนั่นเอง
ในขณะที่สายตาจับอยู่ที่จอภาพก็สามารถใช้มือลากเมาส์ไปมาได้
ระยะทางและทิศตจะสัมพันธ์และเป็นไปในแนวทางเดียวกับการเลื่อนเมาส์ เมาส์แบ่งได้เป็นสองแบบคือ
แบบทางกลและแบบใช้แสง แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม
ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี
เมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น
แต่ในปัจจุบันเมาส์แบบลูกกลิ้งไม่ค่อยนิยมนำมาใช้กันแล้ว
3.คีบอร์ด (Keyboard)
คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมี
เนื่องจากตัวคีย์บอร์ดใช้สำหรับการพิมพ์หรือป้อมข้อมูลต่างลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์
ในตัวคีย์บอร์ดจะมีทั้งที่เป็นตัวอักษรที่เป็นภาษาหลักของแต่ละประเทศรวมทั้งภาษาหลักอย่างภาษาอังกฤษอยู่ด้วย
และยังมีข้อมูลทั้งตัวเลขและฟังก์ชันต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานและอื่นๆ อีก
เพื่อใช้สำหรับลงข้อมูลในตัวเครื่องของเรา
โดยส่วนใหญ่แล้วคีย์บอร์ดมีลักษณะที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน
แต่ในปัจจุบันก็อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป
แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของคนออกแบบนั้นเอง
4.เคส (case)
เคส (case) คือ กล่องหรือโครงสร้างสำหรับเก็บประกอบอุปกรณ์ต่างๆ
คอมพิวเตอร์ไว้ภายในนั้น ซึ่งขนาดของเคสก็จะแตกต่างกันออกไป
แล้วแต่การใช้งานหรือความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละคนรวมทั้งสถานที่เก็บอุปกรณ์เหล่านั้นด้วยว่ามีขนาดพื้นที่มากน้อยเพียงใด
และในตัวเคสก็จะมีในส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย
5.ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)
ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลหรือเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์
และเป็นอุปกรณ์ที่ติดมาพร้อมกันกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
ซึ่งตัวฮาร์ดดิสก์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมและมีแผงวงจรสำหรับควบคุมการทำงานอยู่ด้านล่างและช่องสำหรับเสียบสายไฟเลี้ยงและสายสัญญาณต่างๆ
โดยที่ส่วนประกอบภายในจะปิดไว้อย่างมิดชิดเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น
6.พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
พาวเวอร์ซัพพลาย (Power
Supply) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์
ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ
จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์
7.เมนบอร์ด (Main board)
เมนบอร์ด (Main
board) เป็นแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆ
ไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด
8.แรม (RAM)
แรม (RAM) เป็นหน่วยความจำของระบบ
มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผล
แรมเป็นหน่วยความจำหลักของระบบคอมพิวเตอร์
ซึ่งจะเก็บข้อมูลเมื่อมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงเท่านั้น โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ
ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที
9.ซีพียู (CPU)
ซีพียู (CPU) มีหน้าที่ในการประมวลผลหรือเรียกว่าโปรเซสเซอร์หรือชิป
เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากเนื่องจากมีหน้าที่ในการประมวลผลจากการป้อนข้อมูลลงไป
10.การ์ดจอ (Graphic Card)
การ์ดจอ (Graphic Card) หรือการ์ดแสดงผล เป็นเหมือนสีสันของคอมพิวเตอร์ การ์ดจอ (Graphic Card) คือ แผงวงจรที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพ (Monitor) ในปัจจุบันจะมีรูปแบบของหัวต่อหรือสล็อต 2 แบบ คือ AGP
(Accelerator Graphic Port)ซึ่งเป็นแบบเก่าตอนนี้ไม่นิยมกันแล้ว
อาจจะเลิกผลิตไปแล้วก็ได้ครับที่เห็นๆ อยู่คงจะเป็นมือ 2 ที่ยังหลงเหลืออยู่หรือของที่ค้างสต๊อก
และอีกระบบหนึ่งคือPCI Express x16 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
11.ไดรฟ์ดีวีดี
ดีวีดีรอมไดรว์ (DVD-ROM
Drive) เป็นไดรว์ที่สามารถอ่านข้อมูลได้จากแผ่นซีดี (CD) และดีวีดี (DVD) แต่สามารถบันทึกหรือเขียนข้อมูลงไปบนแผ่นได้
ซึ่งแผ่นดีวีดีโดยทั่วไปมีขนาดเท่ากับแผ่นซีดีแต่หนาหว่าเล็กน้อย
และมีขนาดความจุข้อมูลสูงกว่าแผ่นซีดี
สำหรับแผ่นดีวีดีในปัจจุบันจะมีขนาดความจุข้อมูลต่อแผ่นทั้งหมด 4 แบบคือ 4.7 GB หรือ DVD-5 (บันทึกข้อมูลเพียงชั้นเดียวด้านเดียว),
8.5 GB หรือ DVD-9 (บันทึกข้อมูลสองชั้นด้านเดียว),
9.4 GB หรือ DVD-10 (บันทึกข้อมูลเพียงชั้นเดียวสองด้าน)
และ 17 GB หรือ DVD-18 (บันทึกข้อมูลสองชั้นสองด้าน)
ปัจจุบันดีวีดีรอมไดรว์มีความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีสูงสุดประมาณ 8
ถึง 16 เท่าของความเร็วมาตรฐานที่ 1x ของไดรว์ดีวีดีรอม (คิดเป็น 9 เท่าของความเร็วมาตรฐานที่
1x ของไดรว์ซีดีรอม) หรือมักเรียกกันว่า 8x และ 16x นั่นเอง ส่วนการเชื่อมต่อนั้น
จะใช้รูปแบบเดียวกันกับไดรว์ซีดีรอม
อ้างอิง : http://computarepc-nb.blogspot.com
http://itsentre.blogspot.com
http://computerdodee.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น